มวยไทย ( Muay Thai ) มีทั้งแบบรุก และแบบรับ

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

มวยไทย ( Muay Thai ) มีทั้งแบบรุก และแบบรับ



ศิลปะ มวยไทย ( Muay Thai ) มีทั้งแบบรุก และแบบรับ ตามแบบฉบับเป็นการเลือกใช้ไม้ มวยไทย ( Muay Thai ) และกลวิธีต่าง ๆ มาผสมผสานกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

     “ ไม้ มวยไทย ( Muay Thai ) ” ที่ใช้ในการชก มวยไทย ( Muay Thai )  ได้แก่ หมัด เท้า เข่า และศอก ซึ่ง การใช้หมัดชกคู่ต่อสู้ เรียกว่า “ ไม้หมัด ” การใช้เท้าเตะคู่ต่อสู้เรียกว่า “ ไม้เตะ ” การใช้เท้าถีบเรียกว่า “ ไม้ถีบ ” การใช้เข่าเรียกว่า “ ไม้เข่า ” การใช้ศอกเรียกว่า “ ไม้ศอก ” และยังมีการแบ่งตามลักษณะความสั้น-ยาวของการใช้ไม้ มวยไทย ( Muay Thai ) โดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ไม้สั้น และ ไม้ยาว อีกด้วย

 

ศิลปะการรุก

     ไม้รุก คือ การใช้ไม้มวยต่าง ๆ มาประกอบกัน เพื่อการโจมตีคู่ต่อสู้ มีทั้งการหลอกล่อ และเข้าสู้กันจริง โดยทั่วไปไม้นำของไม้รุกจะเป็นไม้ยาว มีความรวดเร็ว รัดกุม มีหลักมั่นคง และสามารถใช้ไม้อื่นต่อไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการใช้ไม้จังหวะแรกว่าได้ผลดีหรือไม่ จึงนิยมใช้ไม้มวยแบบสลับบนล่าง หรือ ซ้ายสลับขวา เพื่อให้คู่ต่อสู้พะวง ถ้าใช้ไม้รุกเฉพาะส่วน หรือ ส่วนล่างอย่างเดียว จะง่ายต่อการป้องกันแก้ไข

     โดยทั่วไปไม้รุก มีตั้งแต่ 1 จังหวะจนไม่จำกัดจำนวน แต่ที่นิยมใช้และได้ผลดี รวมทั้งฝึกหัดได้ง่าย คือ ไม้รุก 1 จังหวะ, 2 จังหวะ และ 3 จังหวะ

- ไม้รุก 1 จังหวะ : การรุกเข้าไปแล้วใช้ไม้มวยเพียงอย่างเดียว เช่น การชกหมัดตรงขวา เตะขวา โยนเข่าขวาหรือด้านที่ถนัดที่สุด

- ไม้รุก 2 จังหวะ : การรุกเข้าไปแล้วใช้ไม้มวย 2 จังหวะ โดยจังหวะที่ 1 เป็นไม้หลอก เพื่อให้คู่ต่อสู้เสียหลัก แล้วตามด้วยใช้ไม้จริงในจังหวะที่ 2 แต่ต้องตามกันไปอย่างรวดเร็ว

- ไม้รุก 3 จังหวะ : การรุกเข้าไปแล้วใช้ไม้มวยจังหวะที่ 1,2 และ 3 ติดต่อกัน เช่น ต่อยหมัดนำ หมัดตรง แล้วเตะตาม หากฝึกจนเกิดความชำนาญจะสามารถใช้ไม้สั้น เช่น ศอก เข่า หมัดตวัด หมัดงัด เป็นไม้นำได้เช่นกัน

 

ศิลปะการรับ

      ไม้รับ คือ การนำเอาไม้มวยต่าง ๆ มาประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อแก้ไขการจู่โจมของฝ่ายรุก ไม้มวยชนิดหนึ่งอาจแก้การจู่โจมของไม้มวยชนิดเดียวกัน หรือต่างชนิดได้ หรือแก้ทีละไม้ เช่น แก้การต่อย แก้การเตะ แก้การถีบ แก้การศอก แต่ในการชกมวยจริง ๆ ไม่ได้ชก หรือเตะเพียงจังหวะเดียว แต่จะรุกเป็นชุด จึงต้องทำทุกอย่างเพื่อแก้ไขการจู่โจม เช่น การถอยออกให้พ้นระยะ เพื่อไม่ให้ถูกอาวุธของคู่ต่อสู้ การหลบหลีก การปัดป้อง และการตอบโต้ ซึ่งมีทั้งการชิงลงมือก่อน การถอยแล้วตอบโต้ การหลบหลีกแล้วตอบโต้

1. การหลอกล่อ คือ การเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อให้คู่ต่อสู้เข้าใจผิด หรือเพื่อไม่ให้คู่ต่อสู้จับทางได้ ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวอวัยวะต่าง ๆ โดยไม่เคลื่อนที่ไปจากที่เดิม แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ

- หลอกด้วยสายตา : มองสูงแต่ใช้ไม้มวยไปสู่เป้าหมายที่ต่ำ หรือ มองต่ำแต่ใช้ไม้มวยไปสู่เป้าหมายที่สูง

- หลอกด้วยศีรษะ : การเคลื่อนไหวศีรษะไปมาทั้งด้านซ้ายและด้านขวา เพื่อให้คู่ต่อสู้หลงทาง

- หลอกล่อด้วยการเคลื่อนไหวลำตัว : การอาศัยความอ่อนตัว เช่น การโยกเอวหรือโยกลำตัวไปทางซ้ายและขวา

2. การถอยให้พ้นระยะ คือ การถอยให้ห่างจากคู่ต่อสู้ อาจกระโดดเคลื่อนเท้าถอยหลัง หรือก้าวถอยหลัง แต่ต้องให้พ้นระยะไม้มวยของคู่ต่อสู้ ในการถอยเมื่อพ้นระยะแล้ว จะต้องอยู่ในท่าที่พร้อมจะตอบโต้คู่ต่อสู้ทันที

3. การโยกตัวหรือการเอนตัวให้พ้นระยะ คือ การโยกตัวหรือเอนตัวออกให้พ้นระยะคู่ต่อสู้

4. การหลบหลีก คือ การเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อหลบหลีกไม้มวยของคู่ต่อสู้ที่จู่โจมมา อาจใช้วิธีก้มตัวหลบด้านซ้าย และขวา

5. การปัดให้เบี่ยงเบนออกไป คือ การใช้มือหรือแขนปัดไม้มวยไปยังเป้าหมายอื่น

6. การปัดป้อง คือ การใช้ส่วนต่าง ๆ ที่แข็งแรงของร่างกายปัดป้องอวัยวะที่เป็นจุดอ่อนของร่างกาย เช่น การใช้เข่าปัดป้องท้อง รวมถึงบริเวณลำตัว การใช้ศอกและเข่าบริเวณหน้าอก

7. การบังเกาะจับ คือ การบังไม่ให้ไม้มวยคู่ต่อสู้ปะทะกับตัวเรา การบังนั้นจะต้องอาศัยการผ่อนแรงถูกจังหวะ และเหมาะสมจึงจะได้ผลดี เมื่อบังเกาะจับได้แล้ว ก็สามารถใช้ไม้มวยตอบโต้ได้ทันที

8. การทำให้ล้ม ใน มวยไทย ( Muay Thai ) มีหลายแบบ แต่ที่ถูกต้องตามกติกาคือ ใช้วิธีการบังเกาะจับแล้วผลักให้ล้ม หรือการกอดรัดแล้วเหวี่ยงให้ล้ม

     และนี่คือ ศิลปะการรุก ( ไม้รุก ) และศิลปะการรับ (ไม้รับ) ที่น่าสนใจของ มวยไทย ( Muay Thai ) เหมือนจะเป็นเรื่องง่ายแต่จริง ๆ แล้วต้องอาศัยความชำนาญจากการหมั่นฝึกซ้อม เพื่อให้เลือกใช้ไม้ มวยไทย ( Muay Thai )  และกลวิธีต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

ฝึกพันข้อมือ ฉบับ มวยไทย ( Muay thai )

อาชีพ มวยไทย ไม่ได้เป็นกันได้ง่าย ๆ



บทความที่น่าสนใจ

การล้มมวย การทุจริตในกีฬา มวยไทย
ทักษะ การฝึกฝน มวยไทย ( Muay Thai ) เบื้องต้น