เริ่มฝึก มวยไทย ( Muay Thai ) เบื้องต้นให้ถูกวิธี

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

เริ่มฝึก มวยไทย ( Muay Thai ) เบื้องต้นให้ถูกวิธี



การเริ่มฝึกวิชา มวยไทย ( Muay Thai ) ควรมีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเสียก่อน เพื่อให้ใช้หมัด เท้า เข่า ศอก ได้อย่างถูกวิธี ซึ่งหลักการสำคัญในการฝึก มวยไทย ( Muay Thai ) มีดังนี้

 

1. การตั้งท่าจดมวย

     การตั้งท่าจดมวย คือ การวางเข่า การวางมือ ให้ถูกต้องตามหลักการฝึก โดยการจดมวยจะต้องทราบเหลี่ยมมวย หรือ การแสดงการใช้มือ และเท้าที่ถนัดออกมาให้เห็น นั่นเอง มี 2 เหลี่ยม ได้แก่ เหลี่ยมซ้าย และเหลี่ยมขวา

 

2. การวางตำแหน่งอวัยวะ

     การวางตำแหน่งของอวัยวะที่ได้จดมวย คือ การกำหมัด วางเท้า มือ และลำตัว ซึ่งการกำหมัดที่ถูกต้อง คือ แบมือ ให้นิ้วมือทั้ง 4 เรียงชิดติดกัน แล้วพับนิ้วทั้ง 4 นิ้วเข้าหาอุ้งมือ แล้วกดทับด้วยนิ้วหัวแม่มือ ลงทาบ ในลักษณะเฉียงกับนิ้วชี้ และนิ้วกลาง เพื่อให้หมัดที่กำกระชับแน่น โดยไม่เกร็ง

 

3. การใช้หมัดใน มวยไทย ( Muay Thai )

     การใช้หมัดใน มวยไทย ( Muay Thai ) มีอยู่ด้วยกันหลายแบบ เริ่มจาก “หมัดตรง” คือ การใช้หมัดที่ถนัดมุ่งไปยังเป้าหมาย อาศัยแรงจากหัวไหล่ ลำตัว เอว และเท้ายันพื้น ให้ทุกส่วนประสานกัน

     หมัดต่อมา “หมัดตัด” คือ การใช้หมัดเหวี่ยงในลักษณะโค้งเป็นครึ่งวงกลม โดยเล็งไปที่บริเวณลำตัว ใบหน้า  หรือศีรษะของคู่ต่อสู้ มีทั้งหมัดเหวี่ยงสั้น หรือการเหวี่ยงวงแคบ และหมัดเหวี่ยงยาว หรือการเหวี่ยงวงกว้าง

     หมัดถัดมา “หมัดตวัด” คือ การใช้สันหมัดกดลงบริเวณอวัยวะสำคัญของคู่ต่อสู้ ในลักษณะเหยียดแขนออกไป พร้อมชกตวัดวงแคบ และหมัดสุดท้าย “หมัดเสย” คือ การใช้หมัดชกเข้าหาคู่ต่อสู้โดยงอศอก เกร็งข้อศอก หงายหมัด แล้วยกขึ้นสู่เป้าหมาย เช่น ปลายคาง ดั้งจมูก หรือใบหน้าคู่ต่อสู้

 

4. การใช้เท้าใน มวยไทย ( Muay Thai )

     การใช้เท้า ใน มวยไทย ( Muay Thai ) จะแบ่งออกเป็น 2 ไม้ คือ การเตะ และการถีบ ซึ่ง การเตะ คือ การใช้อวัยวะส่วนขาตั้งแต่เอวลงไปจนถึงปลายเท้า แต่การแตะของ มวยไทย ( Muay Thai ) นิยมใช้หน้าแข้งเตะ เพราะเป็นส่วนที่แข็งเปรียบเสมือนการหวดด้วยไม้ การเตะแบกแยกย่อยได้อีกเป็น เตะตรง เตะตัด เตะตวัด หรือเตะเฉียง  และกลับหลังเตะ ส่วนการถีบ คือ การใช้ปลายเท้า ฝ่าเท้า หรือ ส้นเท้า ปะทะคู่ต่อสู้ แบ่งย่อยได้เป็น ถีบตรง ถีบข้าง กลับหลังถีบ กระโดดถีบ  ถีบจิก

 

5. การใช้เข่าใน มวยไทย ( Muay Thai )

     การใช้เข่าใน มวยไทย ( Muay Thai ) คือ การใช้อวัยวะส่วนที่เป็นข้อต่อระหว่างกระดูกขาส่วนบนกับกระดูกขาส่วนล่าง แล้วงอพับขา กระทุ้งไปยังเป้าหมายของคู่ต่อสู้ โดยการใช้เข่าของใน มวยไทย ( Muay Thai ) นิยมพับปลายเท้าลงให้เกือบขนานกับลำแข้ง เพื่อความเร็ว และความคล่องตัว มีทั้งเข่าตรง เข่าเฉียง เข่าโค้ง เข่าโยน เข่าลอย

 

6. การใช้ศอกใน มวยไทย ( Muay Thai )

     มาถึงอาวุธสุดท้าย การใช้ศอกใน มวยไทย ( Muay Thai ) เป็นหนึ่งในการใช้อาวุธที่รุนแรงที่สุด และมีการห้ามให้ใช้ในรายการมวยบางแห่ง การใช้ศอกขั้นพื้นฐานมีลักษณะ ดังนี้

- ศอกตี หรือ ศอกสับ ใช้วิธีการตีศอกจากบนสู่ล่าง เฉียงซ้ายคล้ายมุมฉาก บางครั้งอาจบิดตัวตี โดยมีแรงส่งจากไหล่ ลำตัว และเท้า

- ศอกตัด คือ การตีศอกตัดขนานไปสู่เป้าหมาย

- ศอกงัด คือ การตีศอกจากกลาง งัดขึ้นไปข้างบน ตรงเป็นมุมฉาก

- ศอกกระทุ้ง คือ การใช้ศอกพุ่งออกไปด้านหลัง ในลักษณะกระทุ้ง แก้ไขสถานการณ์ที่คู่ต่อสู้ประชิดเข้ามาด้านหลัง

- ศอกกลับ คือ การหมุนตัวตีศอก กลับไปทางด้านหลัง ตามจังหวะที่สัมพันธ์กับการเคลื่อนตามเท้า

- ศอกคู่ คือ การตีศอกด้วยแขนสองข้าง

 

     ศิลปะการใช้หมัด เท้า เข่า ศอก ของ มวยไทย ( Muay Thai ) หากอยากชำนาญต้องทำการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ และถูกท่าถูกวิธี เพื่อให้คู่ต่อสู้จับทางได้ยาก หากใครสนใจอยากเรียน มวยไทย ( Muay Thai ) เจริญทองมวยไทยยิม ( jaroenthongmuaythai Gym ) ยินดีต้อนรับ เรามีสาขาให้บริการถึง 3 สาขา ไม่ว่าจะเป็นสาขาข้าวสาว ศรีนครินทร์ และรัชดา ใครสะดวก หรืออยู่ใกล้สาขาไหนก็จัดเลย

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

เหตุผลที่ชาวต่างชาติสนใจ มวยไทย ( Muay Thai )

มารยาทในการชก มวยไทย ที่เราควรรู้ไว้



บทความที่น่าสนใจ

เรียนมวยไทย สำหรับผู้สูงอายุ ดีอย่างไร ?
ฟิตแอนด์เฟิร์ม “มวยไทย” เทรนด์การป้องกันตัวของผู้หญิงยุคใหม่