กติกา การจำแนกรุ่น มวยไทย ( Muay Thai )

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

กติกา การจำแนกรุ่น มวยไทย ( Muay Thai )



ในกติกาของ การแข่งขัน กีฬา มวยไทย ( Muay Thai ) นักมวย ทั้ง 2 ฝ่าย จะต้องมี ช่วงน้ำหนัก อยู่ในรุ่นเดียวกัน จึงจะสามารถแข่งขันกันได้ โดยรุ่นของนักมวย จะสามารถแบ่งได้กี่รุ่น มาติดตามกันครับ

 

การแข่งขัน กีฬา มวยไทย ( Muay Thai ) ในวันแข่งขัน นักมวยที่จะเข้าแข่งขัน ต้องทำตรวจร่างกาย และชั่งน้ำหนักตัว เพื่อจำแนกรุ่นของนักมวย ให้เข้าแข่งขันกับ นักมวยที่อยู่ในรุ่นเดียวกัน โดยมีเกณฑ์ในการ จำแนกรุ่น ของนักมวยได้ 17 รุ่น ดังต่อไปนี้

 

1. รุ่นมินิฟลายเวท น้ำหนักต้องเกิน 100 ปอนด์ (45.454 กิโลกรัม) และไม่เกิน 105 ปอนด์ (47.727 กิโลกรัม)

2. รุ่นไลท์ฟลายเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 105 ปอนด์ (47.727 กิโลกรัม) และไม่เกิน 108 ปอนด์ (48.988 กิโลกรัม)

3. รุ่นฟลายเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 108 ปอนด์ (48.988 กิโลกรัม) และไม่เกิน 112 ปอนด์ (50.802 กิโลกรัม)

4. รุ่นซูเปอร์ฟลายเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 112 ปอนด์ (50.802 กิโลกรัม) และไม่เกิน 115 ปอนด์ (52.163 กิโลกรัม)

5. รุ่นแบนตั้มเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 115 ปอนด์ (52.163 กิโลกรัม) และไม่เกิน 118 ปอนด์ (53.524 กิโลกรัม)

6. รุ่นซูเปอร์แบนตั้มเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 118 ปอนด์ (53.524 กิโลกรัม) และไม่เกิน 122 ปอนด์ (55.338 กิโลกรัม)

7.รุ่นเฟเธอร์เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 122 ปอนด์ (55.338 กิโลกรัม) และไม่เกิน 126 ปอนด์ (57.153 กิโลกรัม)

8. ซูเปอร์เฟเธอร์เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 126 ปอนด์ (57.153 กิโลกรัม) และไม่เกิน 130 ปอนด์ (58.967 กิโลกรัม)

9. รุ่นไลท์เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 130 ปอนด์ (58.967 กิโลกรัม) และไม่เกิน 135 ปอนด์ (61.235 กิโลกรัม)

10. ซูเปอร์ไลท์เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 135 ปอนด์ (61.235 กิโลกรัม) และไม่เกิน 140 ปอนด์ (63.503 กิโลกรัม)

11. รุ่นเวลเตอร์เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 140 ปอนด์ (63.503 กิโลกรัม) และไม่เกิน 147 ปอนด์ (66.678 กิโลกรัม)

12. รุ่นซูเปอร์เวลเตอร์เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 147 ปอนด์ (66.678 กิโลกรัม) และไม่เกิน 154 ปอนด์ (69.853 กิโลกรัม)

13. รุ่นมิดเดิลเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 154 ปอนด์ (69.853 กิโลกรัม) และไม่เกิน 160 ปอนด์ (71.575 กิโลกรัม)

14. รุ่นซูเปอร์มิดเดิลเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 160 ปอนด์ (71.575 กิโลกรัม) และไม่เกิน 168 ปอนด์ (76.374 กิโลกรัม)

15. รุ่นไลท์เฮฟวี่เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 168 ปอนด์ (76.374 กิโลกรัม) และไม่เกิน 175 ปอนด์ (79.379 กิโลกรัม)

16. รุ่นฟลายเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 175 ปอนด์ (779.379 กิโลกรัม) และไม่เกิน 190 ปอนด์ (86.183 กิโลกรัม)

17. รุ่นเฮฟวี่เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 190 ปอนด์ (86.183 กิโลกรัม) ขึ้นไป

 

นอกจากนี้ ยังมีการจำแนกรุ่นของ นักมวยไทย ( Muay Thai ) ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ ได้มีการเพิ่มรุ่น ในการแข่งขันเพิ่มเป็น 3 รุ่น คือ

 

1. รุ่นเปเปอร์เวท น้ำหนักตัว ไม่เกิน 90 ปอนด์ (40.909 กิโลกรัม)

2. รุ่นค็อกเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 90 ปอนด์ (40.909 กิโลกรัม) และไม่เกิน 95 ปอนด์ (43.181 กิโลกรัม)

3. รุ่นพินเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 95 ปอนด์ (43.181 กิโลกรัม) และไม่เกิน 100 ปอนด์ (45.454 กิโลกรัม)

 

จากกติกา การจำแนกรุ่นของ มวยไทย ( Muay Thai ) ทั้ง 2 รูปแบบนี้ จะเห็นได้ว่า มีการใช้หน่วย "ปอนด์" เป็นหลัก ซึ่งคนไทย อาจคุ้นเคยกับหน่วย "กิโลกรัม" มากกว่า แต่การใช้หน่วย "ปอนด์"  นั้น จะเป็นการวัดน้ำหนักที่มีความเป็นสากลมากกว่า จึงใช้หน่วยวัดนี้ เหมือนกับ การจำแนกรุ่นของ มวยสากล เช่นกัน ที่มีการจำแนกรุ่น นักมวย เหมือนกับ มวยไทย ( Muay Thai ) ทั้งหมด

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

คำศัพท์ น่ารู้ เกี่ยวกับ มวยไทย ( Muay Thai )

รีดไขมัน ลดน้ำหนัก สไตล์ มวยไทย ( Muay Thai )



บทความที่น่าสนใจ

ไขมันกระจายแค่ชก มวยไทย ( Muay Thai)
กระจับอุปกรณ์ป้องกันสำคัญ