เปิดประวัติ มวยไทย

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

เปิดประวัติ มวยไทย



มวยไทย นั้นเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ที่คงคู่อยู่กับชาวไทยมาตั้งแต่อดีตกาล แม้ว่ากาลเวลาจะเปลี่ยนไป แต่ว่าศิลปะการป้องกันตัวชนิดนี้ก็ยังคงดำรงค์อยู่คู่กับชาวไทย และเผยแพร่สู่ต่างประเทศ จนกลายเป็นที่นิยม อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

 

ประวัติศาสตร์มวยไทย ( Muay Thai ) มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอพยพ ของประชากรที่อาศัยอยู่ ในมณฑลยูนนาน บนฝั่งแม่น้ำแยงซีเกียง ของประเทศจีน โดยตามตำนานของไทย เชื่อว่ามีผู้คนจำนวนมาก ที่เดินทางออกจากมณฑลยูนนาน ประเทศจีน มาสู่ประเทศไทย เพื่อค้นหาที่ดิน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ สำหรับการเกษตร อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการโยกย้าย ของพวกเขา ชาวไทยกลุ่มนี้ ได้ถูกโจมตีโดยโจร และสัตว์ นอกจากนี้ ยังมีโรคต่าง ๆ ที่พวกเขาต้องเผชิญ เพื่อเพิ่มความสามารถ ในการป้องกันร่างกาย และจิตใจ การรับมือกับความทุกข์ยาก ชาวไทยสยาม จึงได้คิดค้นวิธีการต่อสู้

 

แม้ว่าการดูแลรักษา จัดเก็บเอกสาร ตำราทางประวัติศาสตร์ ในยุคนั้น ส่วนใหญ่จะสูญหายไป เมื่อครั้งที่ถูก กองทัพพม่าทำลาย และขับไล่ออกจาก เมืองอยุธยาในสมัย สงครามพม่า - ไทย ( พ.ศ. 2302 - 2303 ) แต่เราก็ยังสามารถพบหลักฐาน และข้อมูลของ เอกสารบางส่วน ได้จากบันทึกของพม่า กัมพูชา และจากชาวยุโรป เมื่อครั้งมาเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นครั้งแรก รวมถึงจากบันทึกเหตุการณ์ ของล้านนา หรือเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน

 

สมัยสุโขทัย

 

เมืองหลวงของประเทศไทย ในช่วงนี้ตั้งอยู่ที่เมืองสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 1781 ถึง พ.ศ. 1951 ตามรายการที่บันทึกไว้ในศิลา สุโขทัยมีความขัดแย้งกับหลายเมือง ที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งมักจะเผชิญหน้ากับข้าศึกจากภูมิภาคต่าง ๆ ดังนั้น ทางเมืองสุโขทัยจึงมีคำสั่ง ให้มีการฝึกฝนในกองทัพ รวมถึงการใช้ดาบ หอก และอาวุธอื่น ๆ เพื่อใช้ในการต่อสู้ นอกจากนี้ การฝึกต่อสู้โดยใช้ร่างกาย มีประโยชน์มาก ในยามบ้านเมืองไม่มีสงคราม ทักษะการต่อสู้ด้วยการใช้หมัด เข่า และศอก ล้วนเป็นส่วนหนึ่งในการฝึกซ้อม ของกองทัพสุโขทัย

 

ในยามสงบ การฝึกมวยไทย ( Muay Thai ) จะเป็นกิจกรรมแบบไม่แบ่งชนชั้น โดยบรรดาชายไทยวัยหนุ่ม จะได้รับทักษะการต่อสู้ และป้องกันตัว ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมล่วงหน้า ก่อนเข้ารับราชการทหาร ศูนย์ฝึกซ้อมส่วนใหญ่ จัดขึ้นที่บริเวณรอบเมือง โดยเฉพาะสำนักสมอคร ในแขวงเมืองลพบุรี รวมถึงมีการสอนตามลานวัด โดยมีพระภิกษุเป็นผู้ฝึกสอน

 

ในช่วงเวลานี้ มวยไทย ( Muay Thai ) ได้รับการยกย่อง เป็นศิลปะชั้นสูงทางสังคม และนำมาใช้จริง ในการพัฒนาสมรรถภาพ ทางกายแก่นักรบ การสร้างความแข็งแกร่ง และความกล้าหาญ ต่อผู้ปกครองบ้านเมือง พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์แรกของสุโขทัย ทรงเชื่อมั่นในประโยชน์ของมวยไทย จึงส่งราชโอรสสองพระองค์ ไปยังสำนักสมอคร เพื่อเตรียมความพร้อม ในการสืบทอดราชบัลลังก์ ระหว่างปี พ.ศ. 1818 ถึง 1860 พ่อขุนรามคำแหง ทรงนิพนธ์ตำหรับพิชัยสงคราม ที่มีการกล่าวถึงมวยไทย เช่นเดียวกับทักษะการต่อสู้อื่น ๆ

 

 

สมัยกรุงศรีอยุธยา

 

สมัยกรุงศรีอยุธยา อยู้ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 1988 ถึง พ.ศ. 2310 ในช่วงนี้มีสงครามจำนวนมาก ระหว่างไทย พม่า และกัมพูชา จึงได้มีการฝึกพัฒนาทักษะ ด้านมวยไทย ( Muay Thai ) เพื่อการป้องกันตัว อาจารย์ผู้ถ่ายทอด ศิลปะการต่อสู้นี้ให้แก่ชาวไทย ไม่ได้มีจำกัดเฉพาะ ในพระบรมมหาราชวังดังเช่นก่อนหน้านี้ โดยมีสำนักดาบพุทไธสวรรย์ ที่ได้รับความนิยมในสมัยนี้ มีนักเรียนหลายคนเข้ามาเรียนรู้เรื่องระเบียบวินัย พวกเขาฝึกวิชาดาบ และการต่อสู้ระยะประชิด ด้วยดาบหวาย จากการเรียนรู้การต่อสู้ โดยไม่ใช้อาวุธของทหารนี้เอง ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ มวยไทยโบราณ ซึ่งเป็นรูปแบบดั้งเดิมของมวยไทยโดยสำนักมวยในยุคนั้น ได้เริ่มถ่ายทอดความรู้นี้ ให้แก่ประชาชน

 

 

สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ( พ.ศ. 2133 - 2147 )

 

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงให้ความสำคัญต่อมวยไทย ( Muay Thai ) อย่างยิ่ง โดยให้การฝึกแก่บรรดาชายหนุ่ม เพื่อเสริมสร้างความสามารถ ด้านมวยไทย ( Muay Thai ) ทั้งในแง่ของความกล้าหาญ และความเชื่อมั่นในตนเอง พวกเขาได้รับคำสั่ง ให้เรียนรู้การต่อสู้ ด้วยอาวุธทุกชนิด นอกจากนี้ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ยังทรงแต่งตั้ง กองเสือป่าแมวมอง ซึ่งเป็นหน่วยรบแบบกองโจร โดยกองทหารเหล่านี้ สามารถกอบกู้ เอกราชของประเทศไทย จากประเทศพม่าได้ในช่วงเวลาดังกล่าว

 

 

สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ( พ.ศ. 2147 - 2233 )

 

ในช่วงเวลานี้ เป็นช่วงที่ประเทศไทย มองไปทางไหน ก็มีแต่ความสงบสุข จึงทำให้มีโอกาส ในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และการทหาร แห่งราชอาณาจักร สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงให้การสนับสนุน และส่งเสริมกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในมวยไทย ( Muay Thai ) ที่ได้กลายเป็น กีฬาประจำชาติ ในช่วงเวลานี้ ได้มีค่ายมวยเกิดขึ้นหลายแห่ง ซึ่งมีการพัฒนาพื้นที่ ในการฝึกโดยเฉพาะ โดยการสร้างสังเวียนมวย และลานดิน ซึ่งมีเชือกเพียงเส้นเดียวกั้น และมีกฎกติการการแข่งขัน ในบริเวณสี่เหลี่ยมจัตุรัส นักมวยจะใช้ด้ายดิบชุบแป้ง หรือน้ำมันดิน ให้แข็งเพื่อพันข้อมือ วิธีการเช่นนี้จึงได้รับการเรียกกัน ในชื่อคาดเชือก ( การใช้เชือกพัน ) หรือที่รู้จักกัน ในชื่อมวยคาดเชือก ( การต่อสู้กันโดยมีเชือกพัน )

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ เพื่อน ๆ ได้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ ของมวยไทย ( Muay Thai ) แบบเต็มอิ่มกันเลยไหมล่ะคะ รู้กันแบบนี้แล้ว หากเพื่อน ๆ เริ่มสนใจกีฬามวยไทยขึ้นมา อยากจะลุกขึ้นมาออกหมัด เท้า เข่า ศอก กันก็ลองหาข้อมูล หรือค่ายใกล้บ้านเพื่อน ๆ เพื่อหาดูคอร์สที่เหมาะสมกับตัวเพื่อน ๆ เองกันดูนะคะ

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

กว่าจะเป็น…นักมวยอาชีพ

กฎกติกาของเวที หรือ สังเวียน มวย



บทความที่น่าสนใจ

อุปกรณ์ฝึกมวย
ถุงถ่วงน้ำหนัก มวยไทย ( Muay Thai )