บทบาทหน้าที่ของ พี่เลี้ยงนักมวย

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

บทบาทหน้าที่ของ พี่เลี้ยงนักมวย



เบื้องหน้าความสำเร็จของนักมวย ล้วนมีผู้อยู่เบื้องหลังที่สำคัญอย่าง พี่เลี้ยงนักมวย ซึ่งหลายคนอาจจะเคยเห็นบทบาทได้ ในช่วงที่มีการพักยกของการแข่งขัน พี่เลี้ยงนักมวย จะคอยมาดูแลนักมวย แต่แท้จริงแล้วมีบทบาทที่มากกว่านั้น

 

ไม่ว่าจะเป็นกีฬาประเภทใด นักกีฬาย่อมมีผู้ฝึกสอนของศาสตร์กีฬานั้น ๆ เฉกเช่นการเรียนการสอนทั่วไป ที่ต้องมีครูกับศิษย์ ซึ่งผู้ฝึกสอนในทางกีฬาสามารถเลี้ยงได้หลายอย่าง เช่น ครู อาจารย์ โค้ช  ครูฝึก พี่เลี้ยง เป็นต้น สำหรับมวยไทยก็เช่นกัน การที่นักมวยจะมีความรู้ ความสามารถได้ จะต้องได้รับการถ่ายทอดวิชาการต่อสู้และศาสตร์ต่าง ๆ ของมวยไทยมาจาก ครูมวย หรือ พี่เลี้ยง นั่นเอง โดยมวยไทยในสมัยก่อน มีการเรียกผู้ที่ฝึกสอนมวยไทยให้แก่ศิษย์ว่า "ครูมวย" และในสมัยปัจจุบันมีความหลากหลายในการเรียกมากขึ้น เช่น โค้ช หรือ พี่เลี้ยง แล้วแต่นักมวยจะเรียกกัน

 

ก่อนการแข่งขันมวยไทย พี่เลี้ยงจะมีหน้าที่ ฝึกสอนมวยให้แก่นักมวยที่ตนดูแล พี่เลี้ยงที่ดีจะต้องสามารถวิเคราะห์นักมวยของตนเองได้ ว่ามีจุดแข็งและจุดอ่อนอะไรบ้าง เพื่อชูจุดแข็งในการเอาชนะคู่ต่อสู้ และพัฒนาจุดอ่อนไม่ให้มีความบกพร่องได้ หากมีการแข่งขันมวยไทย พี่เลี้ยงนักมวย จะต้องคอยวางแผนการชกให้กับนักมวยล่วงหน้า รวมถึงวิเคราะห์จุดอ่อนของคู่ต่อสู้ล่วงหน้าอีกด้วย

 

เมื่อทำการแข่งขัน พี่เลี้ยงนักมวย จะมีเวลากับนักมวยเฉพาะเวลาพักยก หน้าที่ของพี่เลี้ยงนักมวย จะต้องเข้ามาดูแลจัดการความเรียบร้อยของนักมวย คอยนวดกล้ามเนื้อ ซับหน้า ซับเลือด ให้น้ำดื่ม พร้อมกับบอกแผนการชกยกต่อไปว่าควรมีการเล่นอย่างไร ใช้กลยุทธใดในการจัดการกับคู่ต่อสู้ รวมถึงต้องให้กำลังใจและเพิ่มความสดชื่นกระปรี้กระเปร่าก่อนนักมวยจะไปแข่งต่อ

 

ในการแข่งขันมวยไทย ผู้แข่งขันแต่ละคนให้มีพี่เลี้ยงได้ 2 คน โดยพี่เลี้ยงจะต้องปฏิบัติตามกติกา  ดังต่อไปนี้

 

1. พี่เลี้ยงจะแนะนำ ช่วยเหลือหรือส่งเสริมผู้แข่งขันของตนในระหว่างการชกกำลังดำเนินอยู่ไม่ได้ ถ้าพี่เลี้ยงละเมิดกติกา อาจถูกตำหนิโทษ หรือให้ออกจากหน้าที่นักมวยของเขา อาจถูกผู้ชี้ขาดเตือน ตำหนิโทษ หรือให้ออกจากการแข่งขัน อันเนื่องมาจากการทำผิดของพี่เลี้ยง

 

2. พี่เลี้ยงจะยอมแพ้แทนผู้แข่งขันของตนเช่นโยนฟองน้ำหรือผ้าเช็ดตัวเข้าไปในสังเวียนไม่ได้

 

3. ในระหว่างการชกพี่เลี้ยง จะต้องอยู่ในที่นั่งของตน ก่อนเริ่มการแข่งขันในแต่ละยกให้พี่เลี้ยงนำผ้าเช็ดตัวขวดน้ำ ฯลฯ ออกไปจากขอบสังเวียน

 

4. ขณะปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่มุมระหว่างพักยก พี่เลี้ยงต้องตรวจดูเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ของนักมวยของตนให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย พร้อมแข่งขันก่อนสัญญาณของยกต่อไปจะดังขึ้น และถ้ามีเหตุที่นอกเหนือความสามารถพี่เลี้ยงจะต้องรีบแจ้งให้ผู้ชี้ขาดทราบทันที ถ้าพี่เลี้ยงละเมิดกติกาอาจถูกตำหนิโทษหรือให้ออกจากหน้าที่ นักมวยของเขาอาจถูกผู้ชี้ขาดเตือนหรือตำหนิโทษได้

 

5. การให้น้ำนักมวย พี่เลี้ยงจะต้องไม่ให้น้ำนักมวยของตน จนเปียกชุ่มและต้องไม่ทำให้พื้นเวทีเปียกลื่น จนอาจเป็นอันตรายกับคู่แข่งขัน

 

6. พี่เลี้ยงต้องสวมเสื้อแสดงสัญลักษณ์คณะนักมวยของตนให้สุภาพเรียบร้อย

 

7. ห้ามพี่เลี้ยงใช้วาจาไม่สุภาพ หรือทำร้ายนักมวยของตน ระหว่างการแข่งขัน และภายหลังการแข่งขัน

 

8. ถ้าเป็นการแข่งขันเพื่อชิงตำแหน่งแชมป์เปี้ยน หรือป้องกันตำแหน่ง ให้มีพี่เลี้ยงได้ฝ่ายละ 3 คน แต่ในการพักระหว่างยก พี่เลี้ยงจะเข้าไปในสังเวียนได้เพียง 2 คนเท่านั้น

 

9. ในการแข่งขันเพื่อชิงตำแหน่งแชมป์เปี้ยน หรือป้องกันตำแหน่งประธานผู้ตัดสินจะต้องจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้ชี้ขาดผู้ตัดสิน ผู้จัดการ และพี่เลี้ยงนักมวย เพื่อเน้นให้ทุกคนทราบว่า การไม่ปฏิบัติตามกติกานี้อาจไม่เพียงถูกตัดคะแนนเท่านั้น แต่ยังอาจถูกตัดสินให้แพ้หรือให้ออกจากการแข่งขัน

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

การแต่งกายตามกติกาของ นักมวย

ฝึกมวยไทย ( Muay Thai ) ดีต่อกาย ดีต่อใจ



บทความที่น่าสนใจ

กีฬามวยไทย ( Muay Thai ) กับ จังหวะน็อคเอ้าท์ ที่คุณไม่ควรพลาด
ทักษะพื้นฐาน มวยไทย ของ แม่ไม้มวยไทย อย่างถูกวิธี