สังเวียน มวยไทย ( Muay Thai ) ที่ได้ มาตรฐาน

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

สังเวียน มวยไทย ( Muay Thai ) ที่ได้ มาตรฐาน



มวยไทย ( Muay Thai ) นั้นได้รับความสนใจ ในทุกช่วงอายุ รวมถึงชาวต่างชาติ ที่ตั้งใจมาฝึก มวยไทย เพื่อเสริมสร้างสุขภาพ และ ป้องกันตัว ซึ่งการมี สังเวียน หรือ เวทีมวย ที่ได้ มาตรฐาน ก็เป็นสิ่งสำคัญ สำหรับการฝึกซ้อม มวยไทย เหมือนกัน

 

 ในสมัยก่อนนั้น ผู้คนจะฝึก มวยไทย ( Muay Thai ) เพื่อใช้ป้องกันตัว และ นำไปใช้ใน การต่อสู้ หรือ สงคราม แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน บ้านเมืองมีความสงบขึ้น มวยไทย ( Muay Thai ) ได้กลายมาเป็น กีฬาการต่อสู้ ที่ใช้อวัยวะของร่างกาย ให้เป็นประโยชน์ จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ มวยไทย ( Muay Thai ) นอกจากฝึกเพื่อ สืบสานวัฒนธรรมแล้ว ยังได้กลายเป็นการฝึก เพื่อเสริมสร้างสุขภาพ เพื่อออกกำลังกาย หรือ ใช้ลดน้ำหนัก อีกด้วย

 

 ตามหลัก กติกาสากลแล้ว สนามมวย หรือ สังเวียนมวย ( Boxing Ring ) ที่ได้มาตรฐาน จะต้องมีลักษณะดังนี้

1. สนามมวย หรือ สังเวียนมวย ( Boxing Ring ) ต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดเล็กด้านละ 6.10 ม. ( 20 ฟุต ) ขนาดใหญ่ด้านละ 7.32 ม. ( 24 ฟุต ) วัดจากข้างในเส้นเชือก และ พื้นสังเวียนสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 0.91 ม. ( 3 ฟุต ) แต่ห้ามเกิน 1.22 ม. ( 4 ฟุต )

 

2. เชือกกั้น ของ สนามมวย หรือ สังเวียนมวย ( Boxing Ring ) ต้องมีเชือก 4 เส้น และ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ของเชือกไม่ต่ำกว่า 1.5 นิ้ว โดยจะขึงติดกับเสาที่มุม สูงจากพื้นเวทีขึ้นไป 16 / 32 / 48 และ 60 นิ้ว ตามลำดับ ทั้งนี้ให้หุ้มเชือกด้วยวัสดุ ที่มีความเรียบ อ่อนนุ่ม และ เชือกในแต่ละด้าน ของ สนามมวย หรือ สังเวียนมวย ( Boxing Ring ) จะต้องผูกยึดกัน ด้วยผ้าเหนียวสองชิ้น โดยมีขนาดกว้าง 1-1.5 นิ้ว และ มีระยะห่างที่เท่ากัน ซึ่งผ้าที่ผูกนั้น ต้องไม่ลื่นไปตามเชือก

 

3. พื้นสังเวียน หรือ พื้นสนาม ต้องมีความปลอดภัย เรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวางใด ๆ และ ต้องยื่นออกไปนอกเชือก อย่างน้อย 20 นิ้ว และ ต้องปูด้วยผ้าสักหลาด ยาง หรือ วัสดุอื่น ๆ ที่เหมาะสม โดยจะต้องมีลักษณะยืดหยุ่นได้ และ มีความหนาไม่น้อยกว่า 1.5 นิ้ว พร้อมปูทับด้วย ผ้าตึงคลุมพื้นเวทีทั้งหมด

 

4. มุม สนามมวย หรือ สังเวียนมวย ( Boxing Ring ) ต้องตั้งเสาที่มุมทั้งสี่มุม โดยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 นิ้ว และ สูงขึ้นไปจากเวที 60 นิ้ว พร้อมทั้งหุ้มนวม ที่มุมภายในเชือก ให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้เกิดอันตราย กับนักมวย และ มุมแดง จะอยู่ใกล้กับ ประธาน กรรมการ

 ควบคุมการแข่งขัน หรือ ประธานคณะลูกขุน

 

5. บันได จะมี 3 บันได และ ต้องมีความกว้าง ไม่น้อยกว่า 3 ฟุต ไว้ที่มุมต้องข้ามของ สนามมวย หรือ สังเวียนมวย ( Boxing Ring ) สองบันได เพื่อให้นักมวย และ พี่เลี้ยงขึ้นลง ส่วนอีกบันไดหนึ่งนั้นให้อยู่ที่ มุมตรงกลางสำหรับผู้ชี้ขาด และ แพทย์

 

6. ต้องมีกล่องพลาสติก ที่มุมกลางทั้งสองมุม นอก สนามมวย หรือ สังเวียนมวย ( Boxing Ring ) ให้ติดล่องพลาสติก มุมละกล่อง เพื่อให้ผู้ชี้ขาดทิ้งสำลี หรือ กระดาษบาง ๆ ที่ซับเลือดแล้ว

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

บุคคลสำคัญ มวยไทย ( Muay Thai ) แต่ละยุคสมัย

เครื่องแต่งกายมวยไทยโบราณ



บทความที่น่าสนใจ

ออกกำลังกายในร่ม หนีฝน หนีฟ้า มีอะไรบ้าง
เรื่องพื้นฐานในการฝึก มวยไทย