จรรยาบรรณ ของบุคคลในวงการ มวย ( Muay Thai )

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

จรรยาบรรณ ของบุคคลในวงการ มวย ( Muay Thai )



ในทุกสาขาอาชีพ ย่อมมีหลักประพฤติปฏิบัติอันเหมาะสม ที่เรียกว่า จรรยาบรรณ ให้คนในอาชีพเหล่านั้น ยึดถือปฏิบัติ ซึ่งอาชีพ นักมวย และบุคคลในวงการ มวย ( Muay Thai ) ก็มีจรรยาบรรณ สำหรับคนในวงการนี้ เช่นกัน

 

ก่อนอื่น เราต้องมา ทำความรู้จักกันก่อนว่า บุคคลในวงการมวย มีใครกันบ้าง โดยตามพระราชบัญญัติ กีฬามวย พ.ศ.2542 ได้ระบุว่า บุคคลในวงการมวย ประกอบด้วย นักมวย ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน ผู้จัดการนักมวย หัวหน้าค่ายมวย นายสนามมวย และผู้จัดรายการแข่งขันมวย ซึ่งแต่ละบุคคลในวงการมวย จะถูกนิยามความหมายไว้ ดังต่อไปนี้

 

นักมวย หมายความว่า ผู้ซึ่งเข้าแข่งขันกีฬามวย

ผู้ฝึกสอน หมายความว่า ผู้ซึ่งทำหน้าที่ฝึกสอน ศิลปะมวยไทย หรือมวยสากล

ผู้ตัดสิน หมายความว่า ผู้ห้ามมวยบนเวที และผู้ให้คะแนนในการแข่งขัน กีฬามวย

ผู้จัดการนักมวย หมายความว่า ผู้ทำหน้าที่เป็นผู้แทน และจัดการดูแล ผลประโยชน์ของ นักมวย โดยได้รับค่าตอบแทน

หัวหน้าค่ายมวย หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของค่ายมวย

นายสนามมวย หมายความว่า ผู้ทำหน้าที่จัดการ หรือดำเนินกิจการสนามมวย

ผู้จัดรายการแข่งขันมวย หมายความว่า ผู้จัดให้มีการแข่งขันกีฬามวย

 

จรรยาบรรณของบุคคลในวงการมวย

 

จรรยาบรรณ คือ หลักความประพฤติปฏิบัติอันเหมาะสม แสดงถึงคุณธรรม และจริยธรรมที่พึงปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพ โดยจรรยาบรรณของ แต่ละอาชีพ มักถูกกำหนดด้วย หน่วยงานที่ควบคุม และคุ้มครอง อาชีพนั้น ๆ เช่น จรรยาบรรณครู ถูกกำหนดโดย คุรุสภา หรือ จรรยาบรรณทนายความ ถูกกำหนดโดย สภาทนายความ เป็นต้น

 

สำหรับ จรรยาบรรณของ ผู้ที่ประกอบอาชีพเป็น บุคคลในวงการมวย ได้มีการกำหนดไว้ตามกฎกระทรวง พ.ศ.2545 ว่าด้วย มาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่ และจรรยาบรรณของบุคคลในวงการกีฬามวย หมวด 2 ข้อ 8 ได้มีการระบุถึง จรรยาบรรณที่ บุคคลในวงการมวย พึงประพฤติปฏิบัติ ดังนี้

 

1. ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย กีฬามวย รวมทั้ง ข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศที่คณะกรรมการกีฬามวยกำหนด

2. ต้องประกอบอาชีพด้วยความซื้อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย อย่างเต็มความสามารถ

3. ไม่กระทำการใด ๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ แห่งวงการมวย

4. ไม่ใช้อำนาจหน้าที่ โดยไม่ชอบธรรม หรือใช้อิทธิพลข่มขู่ หรือให้ผลประโยชน์แก่บุคคลใด ในวงการกีฬามวย เพื่อให้ตนเอง หรือผูอื่นได้รับประโยชน์ตอบแทน

5. ไม่เรียก รับ หรือยอมรับ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ

6. อนุรักษ์ และพัฒนากีฬามวย ซึ่งเป็นศิลปะการต่อสู้ และวัฒนธรรมประจำชาติ ให้มีมาตรฐานสูงยิ่งขึ้น

7. ต้องยึดหลักความยุติธรรรมในการประกอบอาชีพ โดยไม่คำนึงถึง ฐานะ เชื้อชาติ ศาสนา หรือลัทธิการเมือง และถือปฏิบัติตามจารีต ประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงาน ของวงการกีฬามวย

 

หากบุคคลในวงการมวย ฝ่าฝืนจรรยาบรรณ รวมถึง มาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่ ผู้นั้นจะถูก พิจารณาดำเนินการ หรือถูกกล่าวโทษไว้ฝ่าฝืน ไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ คณะกรรมการกีฬามวยกำหนดไว้

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

17 มีนาคม วันนักมวย วันสำคัญของ มวยไทย ( Muay Thai )

คุณประโยชน์ มวยไทย ( Muay Thai )



บทความที่น่าสนใจ

เริ่มฝึก มวยไทย ( Muay Thai ) เบื้องต้นให้ถูกวิธี
มวยไทย กีฬาที่ได้มากกว่าการออกกำลังกาย