เกร็ดน่ารู้มวยไทย ที่คุณพลาดไม่ได้!

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

เกร็ดน่ารู้มวยไทย ที่คุณพลาดไม่ได้!



สำหรับบทความนี้เราจะพาคุณไปรู้จัก มวยไทย ( Muay Thai ) กับสิ่ง ที่คุณอาจจะยัง ไม่เคยรู้มาก่อน อย่าง เกร็ดน่ารู้มวยไทย ที่คุณพลาดไม่ได้! ซึ่งเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ ก็ถือว่า น่าสนใจ มีคุณค่า และ เป็นสิ่งที่เราคนไทยควรรู้ไว้ด้วย มีประโยชน์ และได้เป็น ความรู้รอบตัวด้วยค่ะ

 

 

พร้อมแล้ว เราไป สิ่งที่อาจจะ ไม่รู้ เกี่ยวกับ มวยไทย ( Muay Thai ) กันค่ะ

 

1. มวยไทย ( Muay Thai ) เคยถูกเรียกว่า ศาสตร์แห่งอาวุธทั้ง 9 เพราะว่า มีการต่อสู้ โดยใช้อาวุธบนร่างกาย 9 อย่าง (นวอาวุธ) คือ หมัด 2 / ศอก 2 / เข่า 2 / เท้า 2 และ หัว 1 ค่ะ

 

2. ปัจจุบันชาวต่างชาติ มักจะรู้จักมวยไทย ในนาม Art of Eight Limbs (ศาสตร์แห่งอาวุธทั้ง 8 เพราะ กติกามวยไทยปัจจุบัน ตัดการใช้หัวโขกออกไป และ ไปเรียก Lethwei (มวยพม่า) ว่าเป็น Art of Nine Limbs (ศาสตร์แห่งอาวุธทั้ง 9) แทน เพราะ ยังสามารถใช้หัวโขกได้

 

3. มวยไทย ( Muay Thai ) ในอดีต ใช้คาดเชือก ในการพันมือเพื่อป้องกัน การบาดเจ็บของมือ แต่กติกาไม่ได้กำหนดว่า ต้องคาดเชือก แต่อย่างก็ดี นักสู้สามารถเข้าต่อสู้ โดยใช้มือเปล่าก็ได้ค่ะ

 

4. สนามมวยแห่งแรกถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2462 คือ สนามมวยสวนกุหลาบ ซึ่งดำเนินการโดยประชาชน ภายในบริเวณวังสวนกุหลาบ

 

5. สนามมวยราชดำเนิน หรือชื่อที่คุ้นเคยว่า เวทีมวยราชดำเนิน (Rajadumnern Stadium) นับเป็นเวทีมวยระดับมาตรฐานแห่งแรกของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นโดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรร โดยให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างขึ้น ซึ่งเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 2484 แต่มาเสร็จสิ้นหลังสงครามสงบแล้ว ในปี 2488 และมีการแข่งขันนัดแรก เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2488 โดยระยะแรกนั้น สนามมวยราชดำเนิน ยังไม่มีหลังคามุง ต่อมา นายเฉลิม เชี่ยวสกุล ผู้จัดการสนามมวย ได้เล็งเห็นถึง ปัญหาและความไม่สะดวก จึงเสนอให้สร้างหลังคา เพื่อคลุมพื้นที่ ทั้งหมด ต่อมาในปี 2494 สนามมวยราชดำเนิน จึงแล้วเสร็จสมบูรณ์เป็นสนามมวยได้มาตรฐาน

 

6. มวยไทย ( Muay Thai ) นั้นได้รับความนิยมในทุกชนชั้น ในประวัติศาสตร์ พระเจ้าเสือ ได้ปลอมพระองค์กลายเป็นสามัญชน ออกไปชกมวย กับนักมวยฝีมือดีของอำเภอวิเศษไชยชาญ และได้เอาชนะนักชกชนะนักมวยเอกถึง ๓ คน ได้แก่ นายกลาง หมัดตาย นายใหญ่ หมัดเหล็ก และ นายเล็ก หมัดหนัก โดยทั้ง 3 คน ต่างได้รับความพ่ายแพ้อย่างบอบช้ำ

 

7. ในหนังสือ นักเรียนนายร้อยไทยในเยอรมันยุคไกเซอร์ ในสมัยรัชกาลที่ 5-6 คนไทยไปเรียนวิชาทหารที่เยอรมันกันหลายคน รุ่นหนึ่งมี แฮร์มัน เกอริงรวมอยู่ด้วย ต่อมา เขาก็คือ จอมพลเกอริง จอมเผด็จการอันดับ 2 รองจากฮิตเลอร์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เกอริง เป็นคนตัวใหญ่และชอบแกล้งเพื่อน เช่น ชอบเอาถุงเท้าไปซ่อน ทำให้เพื่อนแต่งตัวไม่ทัน หรือแกล้งเอาถุงเท้าไปชุบน้ำให้ชื้น เอาไปใส่ตอนอากาศหนาว ถือว่าตัวใหญ่แกล้งใครก็แกล้งได้ แต่พอไปแกล้งเพื่อนไทยที่ไม่เกี่ยงเรื่องตัวใหญ่อยู่แล้วเลยได้เรื่อง ปล่อยหมัดตรงเข้าหน้าด้วยแรงโมโห ผลปรากฏว่าคนชกได้แผลแหวะที่โคนนิ้วกลาง ส่วนคนถูกชกฟันหัก คนที่ชกก็คือ ขเด็ท หรือนักเรียนนายร้อย น้อม ศรีรัตน์ ซึ่งต่อมาก็คือ พลตรีพระศักดาพลรักษ์ นั่นเอง

 

8. ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดแข่งขันมวยคาดเชือก บริเวณหน้าพระที่นั่ง ณ บริเวณหน้าพลับพลาทรงธรรม สวนมิสกวัน ในงานศพของพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช จัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ร.ศ.128 (พ.ศ. 2452) โดยให้หัวเมือง ทั่วประเทศคัดเลือกนักมวยฝีมือดีเข้าแข่งขัน

นักมวยฝีมือดี ชนะคู่ต่อสู้หลายคนเป็นที่พอพระราชหฤทัย รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดฯ พระราชทานยศและบรรดาศักดิ์ เป็น “ขุนหมื่นครูมวย” ถือศักดินา 300 จำนวน 3 คน คือ

นายปล่อง จำนงทอง จากเมืองไชยา เป็น หมื่นมวยมีชื่อ

นายกลึง โตสะอาด จากเมืองลพบุรี เป็น หมื่นมือแม่นหมัด

นายแดง ไทยประเสริฐ จากเมืองโคราช เป็น หมื่นชงัดเชิงชก

 

ซึ่งเหล่านี้ก็เป็นเกร็ดความรู้ ของ มวยไทย ( Muay Thai ) เป็น เกร็ดน่ารู้มวยไทย ที่คุณพลาดไม่ได้! ที่นำมาฝากเพื่อน ๆ ในวันนี้ หวังว่าทุกคน จะรู้จัก และรักมวยไทยกันมากขึ้นนะคะ หากสนใจเรียนมวยไทย แนะนำให้คลิก https://jaroenthongmuaythaikhaosan.com ได้ทันที เรียนมวยไทย ที่ เจริญทอง มวยไทย ยิม บอกเลยว่า มีแต่ได้กับได้เท่านั้น

 

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

การใช้เข่า มวยไทย ลีลาไม้ตายของยอดนักมวยไทย

มวยไทย เพื่อการลดน้ำหนัก กล้ามเนื้อแน่นๆ โดนใจ



บทความที่น่าสนใจ

คุณสมบัติของ นักมวยไทย
การฝึก กีฬามวยไทย ให้ประโยชน์ กับ ร่างกาย อย่างไร