ทักษะ การใช้เข่า ในกีฬา มวยไทย ( Muay Thai )

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

ทักษะ การใช้เข่า ในกีฬา มวยไทย ( Muay Thai )



ในกีฬา มวยไทย ( Muay Thai ) การใช้เข่า ก็เป็นอีกหนึ่งการออกอาวุธที่สำคัญในกีฬาประเภทนี้ ซึ่งวันนี้เราจะมาแนะนำ ทักษะการตีเข่า ในกีฬามวยไทย ในรูปแบบต่าง ๆ กัน

 

การใช้เข่า ในกีฬามวยไทย

 

เข่า หนึ่งในอวัยวะที่ใช้ในการออกอาวุธ ในกีฬา มวยไทย ( Mauy Thai ) โดยเข่านั้น เป็นอาวุธสั้นรองจาก การเตะ จึงใช้ได้ผลดีในระยะประชิดมากกว่าในระยะไกล เช่น เข่าคลุกวงในกอดปล้ำตีเข่า โยนเข่าและแทงเข่า การใช้เข่าในกีฬามวยไทย

 

การใช้เข่า สามารถเรียกได้อีกอย่างว่า "การตีเข่า" หมายถึง การยกเท้าขึ้นแล้วงอเข่า ให้เป็นมุมฉากหรือมุมแหลม ใช้ส่วนเข่าด้านหน้า หรือด้านข้าง (ด้านใน) กระแทกไปยังเป้าหมายที่ต้องการ โดยเป้าหมายของการตีเข่า คือ บริเวณต้นขา ท้อง ชายโครง ลำตัว หน้าอก และทวารหนัก หากตีเข่าสูงขึ้นไปจะมีเป้าหมาย คือ ต้นแขน ปลายคาง และใบหน้า การใช้เข่าตีหรือกระแทกขึ้นไป ขณะตั้งท่าอยู่ และบางโอกาสการใช้เข่าจะต้องใช้มือทั้ง 2 ข้างจับที่คอคู่ต่อสู้ เพื่อใช้เข่าออกอาวุธได้ถนัดและปะทะอย่างรุนแรง

 

การใช้เข่า ในกีฬามวยไทย มีรูปแบบ ดังนี้

 

เข่าตรง หรือ เข่าโหน

 

เป็นการยกเข่า หรือกระแทกยกขึ้นไป โดยการงอเข่า เป็นมุมแหลม โดยใช้ส่วนที่เป็นหัวเข่ากระทบเป้าหมาย และให้ปลายเท้าของเข่าที่ยกขึ้น ตีชี้ไปทางข้างหลัง นิยมใช้ท่านี้ในระยะประชิกตัว เป้าหมายของการตีเข่าท่านี้ ได้ แก่ บริเวณท้อง คาง และใบหน้าของคู่ต่อสู่ สามารถตีได้ทั้งเข่าซ้าย หรือเข่าขวาแล้วแต่ถนัด

 

สิ่งสำคัญของการใช้ เข่าตรง คือ มือทั้งสองข้าง ต้องยกขึ้นสูง เพื่อป้องกันการตีเข่าในลักษณะเข่าโหน มือทั้ง 2 ที่โน้มคอลงมานั้น ควรใช้แขนและศอกชิดกัน เพื่อป้องกัน ซึ่งเข่าตรง สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ เข่าตรงตีนำ และเข่าตรงตีตาม ส่วนเข่าโหน คือการตีเข่าโดยใช้มือทั้ง 2 ข้าง จับท้ายทอยของคู่ต่อสู้ดึงและโน้มคอลงมา พร้อมกับตีเข่า ไปยังเป้าหมาย

 

เข่าเฉียง

 

เป็นการตีเข่าในลักษณะที่เฉียงขึ้น ให้เข่าปะทะกับเป้าหมาย ด้วยการใช้แรงเหวี่ยงจากสะโพก เป้าหมายตีเข่าเฉียงอยู่ที่บริเวณ ชายโครง ท้อง หน้าอก คาง และใบหน้า การตีเข่าเฉียง ด้านที่ใช้ตีเข่า จะตรงข้ามกับเป้าหมาย คือ ถ้าตีเข่าซ้าย จะต้องใช้เข่าเฉียง เข้าปะทะ เป้าหมายทางด้านขวา หรือถ้าตีเข่าขวา จะต้องใช้เข่าเฉียง เข้าปะทะ เป้าหมายทางด้านซ้าย

 

การใช้เข่าเฉียง หากเข้ากอดรัด แล้วจับคู่ต่อสู้ไว้ให้แน่น แล้วดึงมาทางด้านข้างที่จะตีเข่า ปลายเท้าชี้ลงสู่พื้นไปทางด้านหลัง วิธีนี้จะช่วยเพิ่มความรุนแรงของการตีเข่ามากขึ้นได้

 

เข่าตัด

 

การตีเข่าที่มีทิศทางการตีเข่าผ่านจากซ้ายไปขวา หรือจากขาวไปซ้าย ในทิศทางที่ขนานกับพื้น หรือเป็นแนวเดียวกัน หรือตีตัดลงมาหาพื้น โดยที่ปลายเท้า ชี้ไปทางด้านหลัง ให้ใช้แรงเหวี่ยงจากสะโพก เหวี่ยงตัดเข้าหาลำตัว ให้ส่วนของหัวเข่าปะทะกับเป้าหมายที่บริเวณต้นขา หรือชายโครงของคู่ต่อสู้

 

สิ่งสำคัญในการตีเข่าตัด ให้ใช้แรงบิดจากเอว พร้อมแรงดึงเข้าหา แล้วตี จึงจะมีแรงกระแทกมาก นอกจากนี้ การตีเข่า อาจจะใช้ การเหวี่ยงให้คู่ต่อสู้เสียหลักก่อน แล้วจึงตีเข่าสวน ซึ่งบางครั้ง การตีเข่าตัดขึ้นเป็นวงโค้ง จากด้านบนลงมาด้านล่าง จะเรียกลักษณะการตีเข่านี้ว่า "เข่าโค้ง"

 

เข่าลา

 

เป็นการตีเข่า โดยใช้บริเวณเข่าและแข้ง ปะทะเป้าหมาย ระยะการใช้เข่าลาอยู่ในระยะกลาง การตีเข่ารูปแบบนี้ ไม่ต้องจับคอ แต่ตีเฉียงในลักษณะคล้ายกับการเตะเฉียง อาจพับเข่าลงเล็กน้อย เป้าหมายให้ตีเข่าเข้าที่ท้อง และชายโครงของคู่ต่อสู้

 

เข่าลอย

 

เป็นการยกเข่าขึ้นทำมุม โดยการชี้ปลายเท้าไปทางข้างหลัง แล้วใช้เข่าพุ่งเข้าปะทะเป้าหมาย พร้อมกับยกดัดเท้าอีกข้างที่เป็นฐาน ให้ดีดพุ่งขึ้นลอยพ้นจากพื้น พุ่งไปยังเป้าหมายที่ต้องการ อย่างบริเวณ อก ลิ้นปี่ คาง และใบหน้า โดยสามารถใช้เข่านำ หรือเข่าตามก็ได้ การใช้เข่าลอย ในบางครั้ง อาจจะใช้พุ่งเข่าหน้าไปก่อน แล้วตามสลับเข่าหลัง เป็นเข่าหน้าเข้าปะทะเป้าหมายก็ได้

 

เข่าน้อย

 

เป็นการตีเข่าขณะที่เข้ากอดรัดคอ สะพายแล่ง หรือเอวร่วมกับคู่ต่อสู้ ให้ตีเข่าเข้าที่บริเวณต้นขา หรือท้องน้อยของคู่ต่อสู้เร็ว ๆ เน้นหลาย ๆ ครั้ง เป็นการรบกวนคู่ต่อสู้ให้ขัดเท้า และปวดเท้า หากถูกตีเข่าน้อยหลาย ๆ ครั้ง อาจจะทำให้คู่ต่อสู้ เสียเหลี่ยมได้ จึงนิยมใช้เมื่อคลุกวงใน

 

การตีเข่า ถือได้ว่าเป็น อาวุธในร่างกายที่มีพลัง และมีอานุภาพรุนแรงมาก นักมวย ควรใช้ให้คล่องและปรับได้หลากหลาย จึงจะได้เปรียบเชิงมวยในการต่อสู้ได้

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

มวยไทย ( Muay Thai ) มีทั้งแบบรุก และแบบรับ

สังเวียน มวยไทย ( Muay Thai ) ที่ได้ มาตรฐาน



บทความที่น่าสนใจ

คุณค่า ของ กีฬา มวยไทย ( Muay Thai )
บทบาทหน้าที่ของ พี่เลี้ยงนักมวย