การไหว้ครูของมวยไทย

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

การไหว้ครูของมวยไทย



     การไหว้ครูถือว่าเป็นประเพณีที่สำคัญอันศักดิ์สิทธิ์ของ มวยไทย ( Muay Thai )  ทั้งนี้ผู้ที่จะได้รับการฝึกฝนให้เป็นนัก มวยไทย ( Muay Thai ) จะต้องมีการขึ้นครู  ซึ่งเปรียบเสมือนพิธีการมอบตนเองอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของครู

 

     การไหว้ครู คือ เป็นการร่ายรำในกีฬา มวยไทย ( Muay Thai ) เพื่อแสดงถึงความกตัญญูรู้คุณและความเคารพต่อครู มวยไทย ( Muay Thai ) เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน เช่นเดียวกับวิชาการหลายแขนงของไทย ที่มักทำการไหว้ครูก่อนและให้มีเครื่องแต่งกาย การสวมมงคลขณะทำการร่ายรำไหว้ครูบนสังเวียน เนื่องจากถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์

 

     ท่าที่นิยมทำการไหว้ครูมากที่สุดคือ พรหมสี่หน้า, หงส์เหิน, ยูงฟ้อนหาง, สอดสร้อยมาลา, พระรามแผลงศร, พยัคฆ์ตามกวาง, เสือลากหาง, สาวน้อยประแป้ง, ลับหอกโมกขศักดิ์ และกวางเหลียวหลัง ฯลฯ

 

     การรำไหว้ครูเริ่มจากนั่ง กราบเบญจางคประดิษฐ์ คุกเข่าถวายบังคม ขึ้นพรหมนั่ง-ยืน ท่ารำ มวยไทย ( Muay Thai ) อาจมีการเดินแปลง ย่างสามขุม การรูดเชือก การบริกรรมคาถา เพื่อสำรวจ ทักทายหรือข่มขวัญซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ละค่าย หรือสำนัก โดยมีการบรรเลงดนตรีให้จังหวะในการต่อสู้ซึ่งใช้ "เพลงสะหระหม่าแขก" ใช้ในการไหว้ครู "เพลงบุหลันชกมวย" และ "เพลงเชิด" ใช้ในการต่อสู้ ส่วนเครื่องดนตรีไทยที่ใช้บรรเลงประกอบด้วย ปี่ชวา, กลองแขก และฉิ่ง

         

 

การที่ครูจะรับผู้หนึ่งผู้ใดเป็นศิษย์นั้น ผู้เป็นศิษย์จะต้องให้สัตย์ปฏิญาณต่อครู ให้ศิษย์รับสัตย์ปฏิญาณ 4 ข้อ คือ

1) จะบำรุงร่างกายให้สะอาด แข็งแรง และดำรงชีวิตด้วยความซื่อสัตย์สุจริต บริสุทธิ์

2) จะไม่รังแกผู้อ่อนแอ ร่วมรักสามัคคี และช่วยเหลือกันเมื่อช่วยได้

3) จะบำเพ็ญกรณีเพื่อประโยชน์ผู้อื่น และรักชาติ

4) จะหลีกเลี่ยงเหตุการณ์อันไม่สงบ

 

สาเหตุที่มีการไหว้ครูก่อนแข่ง

 - เพื่อเป็นการอบอุ่นร่างกาย

- เพื่อเป็นการปลุกขวัญกำลังใจให้แก่ตน

- เพื่อบอกกล่าวบางอย่าง

- เพื่อเป็นการสำรวจพื้นที่ในเบื้องต้น

 

     การไหว้ครูสื่อความหมายให้เห็นคุณค่าด้านวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย มีคุณประโยชน์มากมายทางด้านจิตใจของนัก มวยไทย ( Muay Thai )และผู้ชม มวยไทย ( Muay Thai ) ดังนี้

 

1) ปลูกฝังนิสัยให้เป็น มวยไทย ( Muay Thai ) คือ รู้จักรัก เคารพครูอาจารย์ บิดามารดา ผู้ให้กำเนิด มวยไทย ( Muay Thai )

2) ปลูกฝังจิตสำนึกให้ตระหนักในคุณค่าของศิลปะ มวยไทย ( Muay Thai ) เกิดความรักและหวงแหนที่จะอนุรักษ์ให้คงไว้สืบไป

3) เป็นกิจกรรมเผยแพร่เอกลักษณ์ และศิลปวัฒนธรรมประจำชาติได้อย่างสง่างาม สมศักดิ์ศรี

 

                                                                                                ขอขอบคุณข้อมูลจาก medium

 

อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ

คุณสมบัติของ นักมวยไทย

ศอก อาวุธเด็ดสุดอันตรายของ มวยไทย

 

 



บทความที่น่าสนใจ

ฝึกสภาพจิตกับใจมวยไทย
เผยที่มาของ การแบ่งฝั่ง มุมแดงมุมน้ำเงิน ในกีฬา มวยไทย ( Muay Thai )